ประวัติวันงดสูบบุหรี่โลก
วันงดสูบบุหรี่โลก ตรงกับวันที่ 31 พฤษภาคม ของทุกปี โดยเริ่มมีการจัดงานตั้งแต่ปี ค.ศ.1988 โดยองค์การอนามัยโลก เนื่องจากเล็งเห็นอันตรายของบุหรี่ต่อสุขภาพ ของผู้สูบบุหรี่และผู้ไม่สูบบุหรี่แต่ได้รับควันบุหรี่ การจัดงานวันงดสูบบุหรี่โลกก็เพื่อกระตุ้นให้ผู้สูบบุหรี่เลิกสูบ และให้รัฐบาลชุมชนและประชากรโลก ตระหนักถึงความสำคัญและเข้าร่วมกิจกรรม องค์การอนามัยโลกระบุชัดเจนว่า การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุสำคัญของการป่วยและเสียชีวิตก่อนวัยอันควรที่สามารถป้องกันได้ และกำหนดให้ วันที่ 31 พฤษภาคม ของทุกปีเป็นวันงดสูบบุหรี่โลก (World No Tobacco Day) มีการกำหนดคำขวัญในการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ในแต่ละปี โดยมีอนุสัญญาควบคุมยาสูบและแสดงโทษของยาสูบ เพื่อแนะนำให้แต่ละประเทศ ใช้ซองบุหรี่แบบเรียบเพื่อแสดงภาพคำเตือนบนซองบุหรี่
สัญลักษณ์ของวันงดสูบบุหรี่โลก
ดอกลีลาวดี (ดอกลั่นทม) เป็นสัญลักษณ์ของ "วันงดสูบบุหรี่โลก" หมายถึง การขจัดสิ่งที่ไม่ดีออกไปจากตัวเรา
ดอกลีลาวดี เป็นดอกไม้ที่มีความหมายถึง การมีแต่ความสุข ชื่อเดิมนั้น คือ ดอกลั่นทม ซึ่งเมื่อก่อนทุกคนจะเข้าใจว่า เป็นดอกไม้อัปมงคล ไม่นิยมปลูกในบ้าน ปลูกแล้วมีแต่ความทุกข์ระทม แต่ถ้าศึกษาด้านภาษาจริงๆ คำว่า ลั่นทม เป็นคำผสมจาก ลั่น+ทม
- ลั่น = ละทิ้ง เลิก
- ทม = ความระทม
รวมความของดอกไม้ประจำวันงดสูบบุหรี่ได้ว่า ละทิ้งความระทม ความเศร้าหมองต่างๆ นั่นก็คือให้มีความสุข สดใส และพอใกล้จะถึงวัน ที่ 31 พฤษภาคม ของทุกปี จะมีกิจกรรมต่างๆ เพื่อกระตุ้นเตือนให้ผู้สูบบุหรี่ที่พยายามที่จะเลิกสูบบุหรี่ ทั้งหน่วยงานภาครัฐ, หน่วยงานสาธารณสุขทุกแห่ง, ร้านอาหารต่างๆ, ตลอดจนหน่วยงานทีมีความสนใจ ได้ร่วมกันรณรงค์ให้เลิกสูบบุหรี่ บางหน่วยงานจะมีการจัดขบวนมอบของกระตุ้นกำลังใจเพื่อวันที่ไร้บุหรี่ จัดเพื่อสำหรับผู้ที่ตั้งใจจะเลิกบุหรี่อย่างแท้จริง
คำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลกประจำปี 2566
คำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลก ปี 66 คือ"บุหรี่ไฟฟ้ามีสารพิษ เสพติต อันตราย" วันงดสูบบุรี่โลก 2566 สืบเนื่องจาก องค์การอนามัยโลก ได้กำหนดให้วันที่ 31 พฤษภาคมของทุกปี เป็นวันงดสูบบุหรี่โลกโดยมีจุดประสงค์เพื่อกระตุ้นให้ทุกๆ ประเทศ จัดกิจกรรมรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ เผยแพร่องค์ความรู้และส่งเสริมให้ประชาชนเกิดความตระหนักถึงโทษ พิษภัย ผลกระทบและดวามสูญเสียทั้งทางสุขภาพ เศรษฐกิจ และสังคมที่เกิดจากการสูบบุหรี่ และส่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ในการลด ละ เลิกบุหรี่ ในปี พ.ศ. 2566 องค์การอนามัยโลกได้กำหนดประเด็นรณรงค์ในวันงดสูบบุหรี่โลก คือ We need food, not tobacco - Growine sustainable food crop instead of tobacco โดยมีวัตถุประสงค์ คือ
1. เพื่อลงเสริมการปลูกพืชอาหารที่ยั่งยืนแทนที่การปลูกยาสูบ สร้างสภาพแวดล้อมทางการตลาดที่อื้อต่อการผลิตพืชทดแทน ซึ่งจะช่วยทั้งเกษตรกรและเศรษฐกิจของประเทศ
2. สนับสนุนเกษตรกรยาสูบรายย่อยผ่านการสนับสนุนการเพาะปลูกและผลิตพืขทดแทน ตลอดจนสร้างสภาพแวดล้อมทางการตลาดที่เอื้อต่อการผลิตพืชทดแทนซึ่งจะช่วยทั้งเกษตรกรและเศรษฐกิจของประเทศ
สำหรับประเทศไทย ในปี พ.ศ.2566 ได้กำหนดประเด็นรณรงค์เนื่องในวันงดสูบบุหรี่โลก ว่า "บุหรี่ไฟฟ้ามีสารพิษ เสพติดอันตราย" เพื่อใช้เป็นแนวทางการสื่อสารรณรงค์ประชาสัมพันธ์ เพื่อการควบคุมการบริโภคยาสูบในทิศทางเดียวกันตลอดปี โดยมีวัตถุประสงค์ คือ
1. เพื่อมุ่งเน้นสร้างการรับรู้ถึงอันตรายของการเสพติดบุหรี่ไฟฟ้า
2. เพื่อให้รู้ถึงอันตรายของสารพิษต่างๆ ที่อยู่ในบุหรี่ไฟฟ้า
3. เพื่อป้องกันเด็กและเยาวชนไม่ให้เริ่มสูบบุหรี่ไฟฟ้า
4. เพื่อให้ประชาชนเกิดความตระหนักถึงปัญหาและอันตรายของสารพิษในบุหรี่ไฟฟ้า
ด้วยเหตุนี้การสื่อสารประชาสัมพันธ์ในประเด็น "บุหรี่ไฟฟ้ามีสารพิษ เสพติด อันตราย" จึงเป็นภารกิจที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ เอกชนรวมไปถึงองค์กรภาคประชาคมในการเผยแพร่ข้อมูล เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ เพื่อให้ประชาชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มเด็ก เยาวชน เกิดความตระหนักถึงภัยจากการใช้บุหรี่ไฟฟ้า โดยพุ่งเป้าในการลดปัญหาการระบาดของบุหรี่ไฟฟ้า และปกป้องเยาวชนไทยไม่ให้เข้าถึง เพื่อมีให้กลายเป็นนักสูบหน้าใหม่ต่อไป
Powered by Froala Editor